Understanding Goal (เป้าหมายของความเข้าใจ) : นักเรียนเห็นความสำคัญของน้ำต่อตนเองและสิ่งมีชีวิตสามารถใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ตลอดจนแนะนำการใช้น้ำอย่างประหยัดให้กลับบุคคลใกล้ตัวและบุคคลอื่นๆ

Week 8


week
Input
Process
Output
Outcome
8
6- 10
มี.ค. 60
โจทย์ :
ลูกโป่งซู่ซ่า
Key  Questions
- มีสิ่งใดบ้างที่สามารถเป่าลูกโป่งได้
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของน้ำกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Show and Learn :
-  เขียน  web  ผลการทดลอง “น้ำเจ็ดสี”
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เพลง แจวเรือ
- อุปกรณ์การทดลอง น้ำเป่าลูกโป่ง)
- วัตถุดิบในการทำไอศกรีมน้ำผลไม้
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง  “ลูกโป่งมหัศจรรย์” เชื่อมโยงสู่การทดลองเป่าลูกโป่งโดยใช้สารที่ต่างกัน  เช่น  น้ำ  น้ำส้มสายชู
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำอะไรบ้างที่สามารถเป่าลูกโป่งได้บ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำต่างๆ  ที่สามารถเป่าลูกโปงได้
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพวัสดุที่ใช้ในการทดลองน้ำเป่าลูกโป่ง

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ผู้ปกครองตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำอะไรบ้างที่สามารถเป่าลูกโป่งได้บ้าง
เชื่อม :
ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการทดลอง “น้ำเปล่าลูกโป่ง”
ใช้ :
นักเรียนระบายสีภาพสรุปผลการทดลอง “น้ำเป่าลูกโป่ง”
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านำทานเรื่อง “โอ๊บ...ไม่อยากเป็นลูกโป่ง” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมผู้ปกครองอาสาที่ผ่านไปเมื่อวาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เกิดอะไรขึ้นบ้าง,  ถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร,  โอ๊บๆ เหมือนหรือคล้ายกับอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมผู้ปกครองอาสา “ลูกโป่งซู่ซ่า”
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพสรุปผลการทดลองขั้นตอนการทดลองลูกโป่งซู่ซ่า

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ผู้ปกครองเล่านิทานเรื่อง “ผลไม้สามสหาย”  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมผู้ปกครองอาสา
- ผู้ปกครองตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานกล่าวถึงใครบ้าง,  มีผลไม้ชนิดใดบ้าง,  นักเรียนเคยรับประทานผลไม้ชนิดใดบ้าง,  ผลไม้ชนิดใดมีน้ำมากที่สุด
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลไม้ที่จะนำมาทำไอติมได้เชื่อมโยงกิจกรรมผู้ปกครองอาสา“กิจกรรมไอติมหลอดน้ำผลไม้”
ใช้ :
ผู้ปกครองอาสาและนักเรียนร่วมกันทำไอติมหลอดน้ำผลไม้

วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไร?”
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง
สัปดาห์
- ครูเชิญนักเรียนออกมาเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้แต่ละกิจกรรมให้เพื่อนๆ เข้าใจมากยิ่งขึ้น
 ใช้ :
นักเรียนเขียน web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
    
ภาระงาน
- ครูเล่านิทานเรื่อง  “ลูกโป่งมหัศจรรย์” เชื่อมโยงสู่การทดลองเป่าลูกโป่งโดยใช้สารที่ต่างกัน  เช่น  น้ำ  น้ำส้มสายชู
- ผู้ปกครองเล่านิทานเรื่อง “ผลไม้สามสหาย”  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมผู้ปกครองอาสา
- ผู้ปกครองตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานกล่าวถึงใครบ้าง,  มีผลไม้ชนิดใดบ้าง,  นักเรียนเคยรับประทานผลไม้ชนิดใดบ้าง,  ผลไม้ชนิดใดมีน้ำมากที่สุด
ชิ้นงาน
-  ใบงานวาดภาพหลังการทดลอง “เป่าลูกโป่งด้วยน้ำ+เบคกิ้งโซดา, น้ำ+ผงฟู, น้ำเปล่า ”
-  สรุปเป็น  Mind  mapping  สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบาย  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของน้ำกับสิ่งมีชีวิตอื่น  และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
(สังเกต ตั้งคำถาม ค้นหา ทดลอง สรุปผล)
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ภาพกิจกรรม
























1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    ในสัปดาห์ที่ 8 น้องๆ อนุบาล 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของน้ำกับสิ่งมีชีวิตอื่น และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และในสัปดาห์นี้มีผู้ปกครองมาร่วมสร้างการเรียนรู้ร่วมกับคุณครูและเด็ก ได้แก่กิจกรรม การทดลองเป่าลูกโป่งซู่ซ่าด้วยเบรคกิ้งโซดา ระหว่างที่ทำกิจกรรมผู้ปกครองถามว่านอกจากเบรคกิ้งโซดาแล้ว เด็กๆ คิดว่าอะไรบ้างที่จะสามารถเป่าลูกโป่งได้

    น้องปันปัน : น้ำตาลสามารถเป่าได้
    น้องนั่น : ปากของเราครับ
    น้องแหนม : ผงฟูสามารถเป่าลูกโป่งได้
    น้องดาว : น้ำอัดลมสามารถเป่าได้เพราะมันมีแก๊ส

    จากนั้นเด็กๆ และผู้ปกครองจึงเริ่มการทดลองโโยใช้ เบรคกิ้งโซดา และผงฟู เพื่อให้เห็นความต่างของสารต่างๆ ที่ใช้ในการเป่าลูกโป่ง สรุปว่าเบรคกิ้งโซดาสามารถเป่าลูกโป่งได้ลูกใหญ่กว่าผงฟู และกิจกรรมไอติมหลอดน้ำผลไม้ ระหว่างที่ทำกิจกรรม น้องศินถามว่า ทำไมต้องใส่เกลือลงไปในน้ำแข็ง น้องนมะถามว่า ทำไมต้องหมุนกลับไปปกลับมา และเด็กๆ วาดภาพบักทึกผลหลังการทดลองกิจกรรม ตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ ทุกคนทำกิจกรรมได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ