week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5
6-10 ก.พ.60
|
โจทย์ :
ขนมแพนเค้กแสนอร่อย
Key Questions
นักเรียนคิดว่าน้ำจากของแข็งกลายเป็น
ของเหลวได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง
“น้ำแข็งใส”
- เพลง “ฝนตก, ซ่า ซ่า ซ่า”
- อุปกรณ์ในการทดลองการละลาย
( เกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง กะทะไฟฟ้า)
- ภาชนะใส่น้ำ เช่น แก้ว ถ้วย ขวดจาน ฯลฯ
|
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ฝนตก”
เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องน้ำแข็ง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนคิดว่าน้ำแข็งมาจากไหน, ทำไมน้ำแข็งถึงละลาย,
นักเรียนคิดว่าอะไรบ้างที่สามารถละลายได้
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับสารที่สามารถละลายได้
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลองสังเกตการละลายของสารในสถานที่แตกต่างกันโดยวิธีการทิ้งไว้เฉยๆ ตากแดด
ต้ม และสรุปผลการทดลอง
ใช้ :
นักเรียนบันทึกสรุปผลการทดลองลงสมุดเป็นภาพ
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “แพนเค้กของบุ๋มบิ๋ม”
เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การทำขนม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “
นิทานทำขนนอะไร,
ขนมแพนเค้กมีส่วนผสมของอะไรบ้าง? ”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขนมแพนเค้กและส่วนผสมที่มี
ใช้ :
นักเรียนเขียน Web ส่วนผสมของขนมแพนเค้ก
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมแพนเค้ก
-
ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมอุปกรณ์ในการทำขนมแพนเค้ก
ใช้ :
ครูและนักเรียนร่วมกันประกอบอาหาร
“ขนมแพนเค้ก” และรับประทานร่วมกัน
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง
“ฉันคือเมฆ”
-
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปในวันพุธ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนทำอะไรไปบ้าง,
นอกจากขนมเพ้นเค้กแล้วนักเรียนรู้จักขนมอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับขนมที่นักเรียนรู้จัก
พร้อมเชื่อมโยงถึงการทำขนมวุ้นหมาน้อย
ใช้ :
การบ้านนักเรียนเตรียมวัตถุดิบในการทำขนมวุ้นหมาน้อยผลไม้รวม
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง)
เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมหมาน้อยผลไม้รวม
- ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมวัตถุดิบในการทำขนมหมาน้อยผลไม้รวม
ใช้ :
ครูและนักเรียนร่วมทำขนมหมาน้อยผลไม้รวม
|
ภาระงาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลองสังเกตการละลายของน้ำแข็งในสถานที่แตกต่างกันโดยวิธีธรรมชาติและสรุปผลการทดลอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลองการละลายของสารโดยการใช้ความร้อนเป็นตัวทำละลาย ได้แก่
เกลือ น้ำตาล และเนย
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการทำขนมแพนเค้ก และลงมือทำขนมแพนเค้ก
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการทำขนมแพนเค้ก
- ประกอบอาหาร “ขนมวุ้นหมาน้อยผลไม้รวม”
ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์เทียนเจล
- เขียน web การทำเทียนเจล
|
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะคุณสมบัติภายนอกของน้ำ
และการเปลี่ยนสถานะได้ เช่น ของแข็งเป็นของเหลวได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ
เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
-
สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
-
การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม
ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจทักษะทางวิทยาศาสตร์
(สังเกต ตั้งคำถาม ค้นหา ทดลอง
สรุปผล)
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
-
สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ
มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- เลือกใช้เครื่องมือ
เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
|
ภาพกิจกรรม
บันทกหลังการสอน
ตอบลบในสัปดาห์ที่ 5 น้องๆ อนุบาล 1 เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การเรียนรู้คุณครูเล่าน้ำทานเรื่อง "ชาวไร่กับอ้อยผู้ซื่อสัตย์" จากนั้นครูตั้งคำถาม "เด็กๆ คิดว่าอะไรที่ละลายจากของแข็งเป็นของเหลวได้บ้าง?"
น้องกันยา : น้ำแข็ง
น้องนั่น : พี่ไอศกรีม
น้องโอ๊ต : พี่ไอศกรีมโดนอากาศก็เลยละลาย
น้องคเชนทร์ : พี่ดินโดนน้ำจะละลาย
น้องวาล์ว : พี่หิมะละลายได้
น้องคเชนทร์ : เวลาพี่ดินน้ำมันโดนแดดจะละลาย
: พี่เนยโดนความร้อนก็จะละลาย
น้องกีวี่ : พี่พลาสติกโดนน้ำร้อนจะละลาย
น้องนมะ : พี่ลูกอมเวลาเราอมจะละลาย
น้องงต้นน้ำ : พี่โรตีสายไหมโดนน้ำลายจะละลาย
น้องแหนม : พี่เกลือโดนแดนานๆ จะละลาย
จากนั้นครูจึงถามต่อว่า อะไรบ้างที่ละลายเมื่อโดนความร้อน คุณครูและเด็กๆ จึงทำการทดลองโดยมีสาร 3 ชนิด คือ น้ำตาล เกลือ และ น้ำแข็ง โดยการวางสารทั้ง 3 ชนิดไว้กลางแจ้ง และให้เด็กๆ เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลง คุณครูจังเวลา 5 นาที หลังจากนั้นคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันสรุปหลังการทำลอง ผลสรุปคือ น้ำแข็งละลายเร็วที่สุด ส่วนเกลือและน้ำตาลไม่ละลาย คุณครูตั้งคำถามกับเด็กๆ ว่า "ทำไมน้ำแข็งจึงละลายเร็วที่สุด น้องโอ๊ต บอกว่า เพราะพี่น้ำแข็งต้องอยู่ในตู้เย็น พอออกมาโดนอากาศเลยก็เลยทำให้พี่น้ำแข็งละลาย กิจกรรมนี้ น้องๆ หลายคนเข้าใจ และสามารถตอบคำถามและสรุปผลความแตกต่างระหว่างสารทั้ง 3 ชนิดได้
วันพุธ เด็กๆ ได้ร่วมกันทำขนม "แพนเค้ก" ซึ่งมีวัตุดิบที่เป็นของแข็งที่ต้องใช้ความร้อนในการละลลาย เด็ก ได้ช่วยกันทำในทุกๆ ขั้นตอน ต้องแต่เริ่มผสมวัตถุดิบต่างๆ ไปจนถึงการดูแลอุปกรณ์และสานที่หลังจากที่เสร็จกิจกรรม วันนี้เด็กๆ ทุกคนร่วมแรงร่วมในกันทำกิจกรรมได้รับประทานขนมแพนเค้
สุดท้ายในวันศุกร์ น้องๆ และพี่ๆ มีกิจกรรมเดินทางไกล "เดินออกจากความคิด" เพื่อให้เด็กๆ ได้ออกไปเผชิญกับความเหน็ดเหนื่อย เพื่อการค้นลึกเข้าไปในตัวตนเห็นความสำคัญ และ ตระหนักต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เรียนรู้เรื่องทิศทางการวางแผนการเดินทางฝึกทักษะการสังเกต การจดจำสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเดินทางฝึกฝนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ตลอดทั้งสัปดาห์ทุกคนทำกิจกรรมได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ