week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
9 – 13
ม.ค. 60
|
โจทย์ :
- สร้างแรง
- เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้
- น้ำกับกิจวัตรประจำวัน
Key Question :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดเพราะอะไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ สิ่งที่อยากเรียนรู้
Wall Thinking :
นักเรียน วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง ”แมลงปอปีกใส”
|
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจแหล่งน้ำรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “ นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, แหล่งน้ำแต่ละที่มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร,
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม “ ส่งน้ำ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องน้ำ
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมที่ได้เล่นว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อเล่นเสร็จแล้วสถานที่เป็นอย่างไร นักเรียนจะทำอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำ
ใช้ :
ครูและนักเรียนร่วมกันทำความสะอาดสถานที่หลังเสร็จกิจกรรม พร้อมสนทนา
เกี่ยวกับความสำคัญของน้ำกับสถานที่
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูทบทวนวิถีพร้อมสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจแหล่งน้ำรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ สัตว์โลกใต้น้ำ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องน้ำ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนฟังนิทานแล้วรู้สึกอย่างไร, มีตัวละครใดบ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมพิมพ์ภาพมือจากสีน้ำ(สีโปสเตอร์) สร้างของตกลงก่อนทำกิจกรรม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกายและสถานที่หลังเสร็จกิจกรรม พร้อมสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำและสถานที่
ใช้ :
นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมพิมพ์ภาพมือจากสีน้ำ(สีโปสเตอร์)
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง“แมลงปอปีกใส” เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องน้ำ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนฟังนิทานแล้วรู้สึกอย่างไร, มีตัวละครใดบ้าง, เกิดอะไรขึ้นบ้าง? ”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนคิดว่าน้ำสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง, น้ำมีความสำคัญกับเราอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำ และน้ำเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร
ใช้ :
นักเรียนต่อเติมภาพพิมพ์มือสร้างสรรค์จากสีน้ำเป็นรูปสัตว์น้ำ
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
- ครูและนักเรียนร้องเพลง “เสียงฝน” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องของน้ำ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่านำสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน
ใช้ :
- นักเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาหยดน้ำ พร้อมสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำ
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ หยดน้ำผจญภัย”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องน้ำมากขึ้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนฟังนิทานแล้วรู้สึกอย่างไร, มีตัวละครใดบ้าง, เกิดอะไรขึ้นบ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ใน Quarter 4 นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุด”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้มากที่สุด
- นักเรียนเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือ Card & Chart จากนั้นครูจัดกลุ่มสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ใน
- ครูและนักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ Blackboard share
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
|
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter4
- นักเรียน วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- พิมพ์ภาพมือจากสีน้ำ(สีโปสเตอร์)
- ต่อเติมภาพพิมพ์มือเป็นรูปสัตว์น้ำ
|
ความรู้ : นักเรียนเกิดความใคร่รู้เรื่องน้ำ สามารถอธิบายลักษณะหรือความสำคัญของน้ำ และเลือกสิ่งที่อยากรู้พร้อมให้เหตุผลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจทักษะทางวิทยาศาสตร์
(สังเกต ตั้งคำถาม ค้นหา ทดลอง สรุปผล)
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
|
ภาพกิจกรรม
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบสัปดาห์แรกของการเรียนรู้ยังอยู่ในกระบวนการปรับตัวและทบทวนวิถีของน้องๆ อนุบาล 1 และสร้างแรงเพื่อให้นักเรียน อยากเรียนรู้เรื่อง น้ำ และเชื่อมโยงครูจึงสร้างรงโดยการพานักเรียนเดินสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน และแห่งน้ำในโรงเรียน ในสัปดาห์แรกนักเรียนได้ทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์นี้นักเรียนทุกคนให้ความสนใจ และสนุกสนานกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดินสำรวจแหล่งน้ำที่อยู่ในโรงเรียนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นักเรียนสนุกสนานกับการฟังนิทาน การเล่นเกม และวาดภาพวันแรกที่นักเรียมมาเรียนจากการเดินสำรวจ ทุกคนทำได้ดีมาก